ภาควิชามนุษยศาสตร์

     ภาควิชามนุษยศาสตร์ เป็นหน่วยงานถูกจัดตั้งขึ้นภายในคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์   ซึ่งคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันให้จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)  เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2545  เดิมเป็นสาขาวิชามนุษยศาสตร์ และเปลี่ยนเป็นภาควิชามนุษยศาสตร์ในเวลาต่อมา  

     จากความพร้อมและศักยภาพของภาควิชา จึงได้เสนอเปิดหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (ศศ.ม.)  ในปี พ.ศ. 2545  และสภาสถาบันได้อนุมัติฯ เมื่อวันที่  10 เมษายน พ.ศ. 2545 และต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับทราบ  เมื่อวันที่ 1  ตุลาคม  พ.ศ. 2545

      ภาควิชาได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ  (ศศ.ม.)  ภาคปกติ แผน ก 2 รุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546  และเปิดรับนักศึกษา ภาคพิเศษ แผน ข    รุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 2  ปีการศึกษาเดียวกัน      

      เมื่อวันที่ 13  กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (ปร.ด) และภาควิชาได้เปิดรับนักศึกษา ภาคปกติ แบบ 2.1 รุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 

      ภาควิชาได้ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การอย่างต่อเนื่อง ทางหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ปรับปรุงครั้งล่าสุด พ.ศ. 2564  ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563  และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ  ปรับปรุงครั้งล่าสุด พ.ศ. 2563  ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562

 

ณ ป้จจุบันทางภาควิชามีอาจารย์ประจำทั้งหมด 14 คน ประกอบด้วยข้าราชการ 1 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 11 คน และพนักงานพิเศษ 2 คน 

       

 

          ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 จนถึง ณ ปัจจุบัน ภาควิชามนุษยศาสตร์มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา จำนวน 8 ท่าน ดังนี้

 

ทำเนียบผู้บริหารภาควิชามนุษยศาสตร์

 

1. รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ ชูนิล

รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชามนุษยศาสตร์

19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2546

2. รองศาสตราจารย์ สุรภี ตันเสียงสม

คณบดีคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์

รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชามนุษยศาสตร์

13 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวนีย์ พงศาพิชณ์

รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชามนุษยศาสตร์

13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 – 19 กันยายน พ.ศ. 2547

4. รองศาสตราจารย์ วิมล เหมือนคิด

 

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์

20 กันยายน พ.ศ. 2547 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

5. อาจารย์ ชนัดดา   เพ็ชรประยูร

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

6. อาจารย์ ภราดี บุตรศักดิ์ศรี

 

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์

1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เติมเพชร สุขคณาภิบาล

รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์ 

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์

12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557– 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

8. อาจารย์ ดร.นนทิรัตน์ พัฒนภักดี

หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์

12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

 

ทางภาควิชามนุษยศาสตร์มีปรัชญา อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจหลัก ดังนี้

ปรัชญา :  คนพัฒนาชาติ มนุษยศาสตร์พัฒนาคน

 

อัตลักษณ์ :  ความรู้เป็นเลิศ  เชิดชูคุณธรรม

 

วิสัยทัศน์ : เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับในด้านการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวิจัย 

แก้ปัญหาคนในองค์การ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 

 

พันธกิจ :

  1. ด้านการจัดการศึกษา  - พัฒนาการจัดการศึกษาให้เอื้อต่อการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้

ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการวิจัย มีคุณธรรมและจริยธรรม มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีความสุขในการดำเนินชีวิต

  1. ด้านการวิจัย – ผลิตผลงานวิจัยทั้งระดับพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้  และระดับประยุกต์     

เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง

  1. ด้านการบริการวิชาการ - ให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อ

ความต้องการของสังคม

  1. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม – ส่งเสริมการทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
  2. ด้านการบริหารจัดการ - บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สามัคคี และพัฒนาภาควิชาสู่

ระดับสากล

 

ภารกิจหลัก  :

  1. บริหารจัดการและรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ดังนี้
    1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา  (Link รายละเอียดรายวิชา)
    2. กลุ่มวิชากีฬาและนันทนาการ เน้นให้ผู้เรียนสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ผ่านกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่หลากหลาย ทั้งกีฬาประเภทเดี่ยว ประเภททีม หรือกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาตนเองตามสมรรถภาพของตน รวมไปถึงกิจกรรมเกมกีฬาที่พัฒนาสติปัญญาที่สามารถนำไปใช้เป็นกิจกรรมเพื่อเข้าสังคมได้ (Link รายละเอียดรายวิชา)
    3. กลุ่มวิชาเลือกเสรี  (Link รายละเอียดรายวิชา)

 

      2. ผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทางด้านสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ดังนี้

         2.1 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ(Linkหลักสูตร)

         2.2 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Link หลักสูตร)