หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ


หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 

สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์  ภาควิชามนุษยศาสตร์

ชื่อหลักสูตร

                      ภาษาไทย      :         หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

                    ภาษาอังกฤษ  :          Doctor of Philosophy Program in Industrial and Organizational Psychology

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)    :  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)

     ชื่อย่อ (ภาษาไทย)       :  ปร.ด. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ)

     ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)  :  Doctor of Philosophy (Industrial and Organizational Psychology)

     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)   :  Ph.D. (Industrial and Organizational Psychology)

ปรัชญาของหลักสูตร

           พัฒนาคนเพื่อเป็นนักวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

         เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การให้เป็นผู้มีสมรรถนะในการทำงานวิจัยขั้นสูงในด้านที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ หาองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์  สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และต้องมีคุณธรรม จริยธรรมด้านวิชาชีพทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

ความสำคัญ

           1. หลักสูตรให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

          2. ดุษฎีบัณฑิตมีทั้งความสามารถ  ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตรงในการวิจัยหลากหลายวิธีทางด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

การพัฒนาหลักสูตร

             ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์  เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ที่สามารถทำการวิจัยขั้นสูง เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ  ซึ่งนำไปใช้แก้ปัญหาคนในองค์การเพื่อให้พนักงานมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง บรรลุเป้าหมายในการทำงาน มีความสุขในการทำงานและความสัมพันธ์ไตรภาคีระหว่างพนักงาน นายจ้างและรัฐ ดำเนินไปด้วยดี

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิจัย 
  • อาจารย์ 
  • นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 
  • นักฝึกอบรม 
  • นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 
  • วิทยากรอิสระ 
  • งานอื่นในสาขาที่เกี่ยวข้อง 

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 

  1. ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ หรือจิตวิทยาอุตสาหกรรม หรือจิตวิทยาองค์การ
  2. ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  3. ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 และเคยศึกษารายวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาและ/หรือ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ อย่างน้อย 15 หน่วยกิต ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  4. ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 และเคยมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ปี ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  5. มีผลสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดหรือตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

 จุดเด่นของหลักสูตร

          1. นักศึกษาสามารถเป็นที่ปรึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้

          2. นักศึกษาสามารถพัฒนางานวิจัยในขอบเขตทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ 

          3. นักศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

          4. นักศึกษามีทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจได้

          5. นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้

 

การดำเนินการหลักสูตร

หลักสูตร  3 ปี 6 เทอม

ภาคปกติ     จัดการเรียนการสอนในวันเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 16.00 น

ภาคพิเศษ    จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 9.00 น. – 16.00 น

  • ภาคการศึกษาที่ 1    เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 2    เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม

 

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

ภาคปกติ เทอมละไม่เกิน 25,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการลงทะเบียนหน่วยกิต)

ภาคพิเศษ เทอมละ 100,000 บาท

 

รูปแบบของหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร   จำนวน  54 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร    

1. หมวดวิชาบังคับ   48  หน่วยกิต ได้แก่

     วิทยานิพนธ์       36 หน่วยกิต

     วิชาบังคับ         12 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเลือก     6  หน่วยกิต  ได้แก่

          วิชาเลือก      6  หน่วยกิต

ประธานกรรมการบริหารโครงการหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต 

คณาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและหลักสูตร link 

  1. กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ
  2. กิจกรรมคืนสู่เหย้า
  3. กิจกรรมศึกษาดูงาน
  4. กิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
  5. กิจกรรมบริการวิชาการ
  6. กิจกรรมในรายวิชาต่อชุมขน ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ  ฯลฯ

หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา

     1.    กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) เป็นไปข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

     2.    กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา จะใช้การทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ งานที่มอบหมาย รายงานหรือการสอบประเภทอื่น ๆ โดยวิธีการทวนสอบที่ใช้จะขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เป็นสำคัญ

 

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

  1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ทั้งการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่า
  2. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร ได้คะแนนเฉลี่ยและสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
  3. เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน
  4. วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1/กลุ่มที่2 หรือระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง
  5. กรณีที่เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิตต้องมีผลสัมฤทธิ์ “ผ่าน”

ตามที่หลักสูตรกำหนด

 

สถานที่จัดการการเรียนการสอน 

คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

1518 ถนนประชาราษฏร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพ 10800 

https://goo.gl/maps/JbZmzApzAVfKeuW7A

 

ช่องทางการติดตามข่าวสารของหลักสูตร

           จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มจพ.

           IOP KMUTNB

               

การสมัครเรียน

 สมัครออนไลน์ที่           https://grad.admission.kmutnb.ac.th 

                            

ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร     เดือน พฤศจิกายน – พฤษภาคม 

                             เดือน มิถุนายน – กันยายน 

หมายเหตุ ดูเพิ่มเติมจากระเบียบการรับสมัครของทางบัณฑิตวิทยาลัย